บริการของเรา

บริการด้านกฎหมาย

กฎหมายธุรกิจ

บริการด้านกฎหมาย

คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

ลิขสิทธิ์ (copy right)หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นโดยการแสดงออกตามประเภทงานลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น " ทรัพย์สินทางปัญญา " ประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เจ้าของผลงานทางลิขสิทธิ์จึงควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินประเภทที่สามารถ ซื้อ ขาย หรือโอนสิทธิกันได้ ทั้งทางมรดก หรือโดยวิธีอื่น ๆ การโอนสิทธิ์ควรที่จะทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทำเป็นสัญญาให้ชัดเจน จะโอนสิทธิทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้


งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ ประกอบด้วยประเภทงานต่าง ๆ ดังนี้

• งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
• งานนาฎกรรม เช่น งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่าหรือ การแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว การแสดงโดยวิธีใบ้
• งานศิลปกรรม เช่น งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรมถ่ายภาพ
ภาพประกอบแผนที่ โครงสร้าง ศิลปะประยุกต์ และรวมทั้งภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าว
• งานดนตรีกรรม เช่น ทำนองและเนื้อร้องหรือทำนองอย่างเดียว และรวมถึงโน๊ตเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
• งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสก์ เป็นต้น
• งานภาพยนตร์
• งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ เป็นต้น
• งานแพร่เสียงภาพ เช่น การนำออกเผยแพร่ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
• งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ


อายุการให้ความคุ้มครอง

เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ ต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของตนดังนี้
• ทำซ้ำ หรือดัดแปลง
• การเผยแพร่ต่อสาธารณชน
• ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
• ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
• อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ในการเช่าซื้อ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน และให้เช่าต้นฉบับ


อายุการคุ้มครอง

โดยทั่ว ๆ ไป การคุ้มครองลิขสิทธิ์ จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต หากแต่มีงานบางประเภทจะมีอายุการคุ้มครองแตกต่างกัน ดังนั้น อายุการคุ้มครองสามารถแยกได้ โดยสรุปดังนี้
• ในงานทั่วไป ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย กรณีที่เป็นผู้สร้างสรรค์ร่วมให้นับจากผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย กรณีที่เป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น กรณี ที่ผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝง หรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
• งานถ่ายภาพ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์นั้นขึ้น
• งานที่สร้างสรรค์โดยการจ้างหรือตามคำสั่ง ให้มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้น
• งานศิลปประยุกต์ ลิขสิทธิ์มีอายุ 25 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นกรณีที่ได้มีการโฆษณางานเหล่านั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอยู่ต่อไปอีก 50 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก ยกเว้นในกรณีงานศิลปประยุกต์ให้ลิขสิทธิ์มีอยู่ต่อไปอีก 25 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก


ปัญหา

• ทำอย่างไรเมื่อถูกดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า
• ผลงานอะไรที่จะได้รับความคุ้มครองในเรื่องลิขสิทธิ์บ้าง การฟ้องคดีต้องทำอย่างไร อายุความฟ้องร้องนานเท่าใด สามารถยอมความกันได้หรือไม่ เรียกค่าเสียหายได้แค่ไหน เพียงใด ยื่นฟ้องต่อศาลไหน
• ทำอย่างไรเมื่อมีบุคคลนำเครื่องหมายการค้า ของท่านไปแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ปลอมเครื่องหมายการค้า จะฟ้องใคร ฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างไร จะยื่นฟ้องที่ศาลไหน มีค่าธรรมเนียมหรือไม่


บริการของเรา

เรามีทีมงานทนายความผู้มีความรู้และประสบการณ์ ในการฟ้องร้องดำเนินคดีอันเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า แก่ท่านในทุกขั้นตอน เรียกค่าเสียหาย

 

 

บริษัท สำนักกฎหมายไทยอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
international calls +0011(668)1-622-4799,(668)-6-996-1599
Email : support@thaiinternationallaw.com